Return to site

Keloid (คีลอยด์)

นพ.กฤษณ์ จงแจ่มฟ้า

· General

คีลอยด์ คือ เนื้อแผลเป็นที่มีการเติบโตผิดปกติ มีการขยายเกินขอบเขตของแผลเดิม พบบ่อยบริเวณใบหู (หลังการเจาะหู) บริเวณที่มีความตึงของผิวหนังมาก เช่น หน้าอก หัวไหล่

คีลอยด์ มักมีการโตคล้ายเนื้องอก (ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง) โตขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุด ร่วมกับอาการคันและเจ็บบริเวณก้อน

broken image

การรักษา

  1. ฉีดยา จะช่วยลดขนาด ความแข็งของก้อนคีลอยด์ได้ และช่วยลดอาการคัน เจ็บได้อีกด้วย ควรฉีดยาจนกระทั่งก้อนยุบและนุ่มดี
  2. ผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ก้อนใหญ่มากหรือไม่ตอบสนองต่อยาฉีด แต่พบการเป็นซ้ำได้ถึง 70 -100% (และจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม!) ดังนั้นหลังจากรับการผ่าตัด "ต้องมีการฉีดยาเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำเสมอ" (อย่างน้อย 3 เดือน)
  3. ฉายแสง ใช้ร่วมกับการฉีดยาหรือผ่าตัดเพื่อลดการกลับเป็นซ้ำ ในผู้ป่วยบางราย
broken image

การป้องกัน (ดีกว่ารักษา)

  • หากมีแผล ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากการที่แผลติดเชื้อ จะเพิ่มการเกิดแผลเป็นมากขึ้น
  • การเจาะหู ควรทำโดยวิธีปลอดเชื้อและควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีกระดูกอ่อน
  • หากสงสัยว่าเกิดคีลอยด์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ หากปล่อยไว้นาน ก้อนโตขึ้น การรักษาต้องใช้เวลานานขึ้น